คู่มือวิธีดูแลสระว่ายน้ำ

องค์ประกอบของน้ำในสระว่ายน้ำ

น้ำมีองค์ประกอบใหญ่ ๆ ดังนี้ คือ

  1. ความเป็นกรด หรือด่างของน้ำ คือ แอลคาลินิตี้ หรือแอซิดดิตี้ กำหนดโดย

ค่า PH ของน้ำ ซึ่งมีจุดกลางเท่ากับ 7.0 PH ต่ำสุด 1 สูงสุด 14

  1. ความกระด้าง ได้แก่ แร่ธาตุที่มีประจุบวก CAT ION ในน้ำ ซึ่งมีทั้งโลหะ

และอโลหะต่าง ๆ เช่น เคลเซียม โซเดียม แมกนีเซียม เหล็ก แมงกานีส ตลอดจน ทองแดง ฯลฯ

  1. สารละลายที่มีประจุ ลบ AN ION เช่น คลอไรด์ ซัลเฟต คาร์บอเนต

ไฮดรอกซี่ ฯลฯ

สารประกอบเหล่านี้มีมากบ้าง น้อยบ้าง ให้ค่า PH สูงบ้าง ต่ำบ้าง นอกจากนี้ยังมี

ส่วนประกอบของทั้ง อินทรีย์สาร และอนินทรีย์สาร อีกด้วย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของน้ำ

น้ำที่เหมาะสมกับการใช้ในสระว่ายน้ำมากที่สุด คือ น้ำประปา ที่ได้ทำการ

ปรับสภาพจากน้ำในแม่น้ำลำคลอง โดยวิธีการตกตะกอนฆ่าเชื้อ และผ่านขบวนการกรองน้ำให้สะอาดจะมีคุณภาพใกล้จุดสมดุลย์ของน้ำในสระว่ายน้ำมากที่สุด

เคมีที่ต้องใช้ในสระว่ายน้ำ

เคมีที่มีความจำเป็นต่อการปรับสภาพเข้าสู่สมดุลย์ของน้ำในสระว่ายน้ำ มีดังนี้ คือ

  • คลอรีน (CL+) มีหน้าที่ในการฆ่าเชื้อ และทำการสันดาปสารละลายโลหะหนัก

ต่าง ๆ ตลอดจนอินทรีย์สาร และอนินทรีย์สารต่าง ๆ ให้มีค่าเป็นออกไซด์ของโลหะ และมีอนุภาคที่โตขึ้น เพื่อการขจัดโดยการกรองต่อไป

คลอรีน  มีทั้งหมด 5 ชนิด

  1. คลอรีนน้ำ Na O CL  เป็นคลอรีนที่ใช้ดั้งเดิม มีความเข้มข้น 10%
  2. คลอรีนน้ำ Ca O CL  เป็นคลอรีนที่ผลิตขึ้นมีขายในตลาด

มีความเข้มข้น 6%

  1. คลอรีนปูน Ca O CL  เป็นผงสีขาว มีความเข้มข้น 60%

และแบบเป็นเม็ดเกล็ด มีความเข้มข้น 70%

            คลอรีนทั้ง 3 ชนิด ที่กล่าวมานี้มีค่าด่างสูง ทำให้ PH ของน้ำเพิ่มขึ้น จึงต้องปรับสภาพน้ำให้เข้าจุดสมดุลย์ด้วยกรด อันเป็นข้อเสียต่อความสึกกร่อนของเส้นยาแนวกระเบื้อง และส่วนประกอบอุปกรณ์สระว่ายน้ำที่ทำด้วยโลหะ อันเป็นสาเหตุให้ต้องคิดหาวิธีในการผลิตคลอรีนใหม่ขึ้น เพื่อใช้ทดแทนเลี่ยงการใช้กรด จึงได้เกิดการผลิตคลอรีนชนิดให้ค่ากรดแทน เพราะโดยทั่วไปเมื่อเหงื่อคนเราละลายสู่น้ำในสระว่ายน้ำแล้วมักมีค่าเป็นด่าง เมื่อทำการสันดาปแล้ว และโดยเฉพาะเมื่อมีเด็ก ๆ ซึ่งอาจปัสสาวะลงในน้ำก็จะเพิ่มค่าด่างให้กับน้ำอีกด้วย สิ่งเหล่านี้มักประกอบด้วยโปรตีน และแอมโมเนีย การใช้คลอรีนที่ให้ค่ากรดจึงเท่ากับเป็นการป้องกัน และลดการสึกกร่อนไปด้วย แต่เนื่องจากคลอรีนนั้นให้ค่ากรด จึงควรจะต้องคอยปรับค่า PH ด้วยด่าง คือ โซดาแอช ซึ่งมีอันตราย และอำนาจในการทำลายน้อยแทน มิฉะนั้น นานเข้า PH จะต่ำลงซึ่งทำให้เดือดร้อนได้เช่นกัน คลอรีนนั้น คือ คลอรีน 90% TRICHLOROISOCYANURIC ACID และคลอรีน 60% SODIUM DICHLOROISOCYANURATE

  1. คลอรีน 90% TRICHLOROISOCYANURIC ACID คือ คลอรีนที่มีค่า

เป็นกรด และสามารถสลายตัวช้ากว่าคลอรีนชนิดอื่นๆ เพราะมีสารควบคุมการละลาย และการสลายตัวอย่างช้า ๆ มีอำนาจเป็นกรด และให้ค่าคลอรีนสูงถึง 90% ของน้ำหนักนิยมใช้มากในปัจจุบัน ใช้ง่ายเก็บรักษาได้นานกว่า สิ้นเปลืองเนื้อที่ในการเก็บรักษาน้อย ละลายน้ำเพียง 1 – 2 %

  1. คลอรีน 60% SODIUM DICHLOROISOCYANURATE คือ คลอรีน

ที่คล้ายกับชนิด 90% แต่สามารถละลายน้ำได้สูงถึง 25% และมีอำนาจในการทำปฏิกิริยาในการสันดาป และฆ่าเชื้อได้สูง และรวดเร็วมาก ในขณะเดียวกันก็มีค่า PH ค่อนข้างเป็นกลาง มีค่าค่อนไปทางกรดเล็กน้อย ซึ่งเป็นประโยชน์มากที่สุด

  • โซดาแอช (Na CO3) เป็นสารละลายที่ให้ค่า PH สูง หรือเป็นด่าง ใช้ในการเพิ่ม

ค่า PH ในน้ำให้สูงขึ้น

  • กรดเกลือ (HCL) เป็นสารละลายที่ใช้เพื่อลดค่า PH ของน้ำ จะใช้เมื่อน้ำในสระ

มีค่า PH สูงเกินไป

  • โซเดียมไบคาร์บอเนต เป็นสารปรับค่า แอลคาลินิตี้ ในน้ำให้เพิ่มขึ้น

ข้อควรระวัง

            การปรับสภาพของ PH ต้องค่อย ๆ ทำไม่ควรปรับปรุงโดยใช้สารเคมีครั้งละมาก ๆ เพราะจะเกิดอันตราย หรือความเสียหายต่ออุปกรณ์ในสระว่ายน้ำได้ และอาจเกิดการเติมมากจนเกินจุดสมดุลย์ได้ เท่ากับเป็นการสิ้นเปลืองโดยเกินกว่าเหตุ โดยเฉพาะไม่ควรเติมขณะมีผู้ใช้สระอีกด้วย

การปรับสภาพสมดุลย์ของน้ำในสระว่ายน้ำ

            น้ำในสระว่ายน้ำ ที่ยังไม่ได้รับการปรับสภาพมักมีความกระด้าง หรือความเป็นกรดด่างสูงบ้าง ต่ำบ้าง แล้วแต่ที่มาของน้ำนั้น ๆ หากที่มานั้นมาจากน้ำบาดาลใต้ดินที่ลึกเกิน 50 เมตร มักมีความกระด้างสูงกว่า 200 PPM. และค่า PH มักมีเกินกว่า 7.6 ขึ้นไป หากที่มาของน้ำมันเป็นบาดาลผิวดิน คือ ตื้นกว่า 20 เมตร มักมีสภาพใกล้กับน้ำฝน มีความกระด้างน้อยกว่า 150 PPM. และมีค่า PH ต่ำกว่า 7.2 เป็นต้น ทั้งนี้ อาจมีบางแห่งมีค่ากลับกันก็อาจเป็นได้ ทั้งนี้แล้วแต่สภาพพื้นดินละแวกนั้น ๆ

น้ำในสระว่ายน้ำจะมีสภาพสมดุลย์ต่อเมื่อมีค่าต่าง ๆ ดังนี้

  • ค่าคลอรีน ค่อนข้างคงที่ การลดระดับน้อย คือ ในระยะ 4 ชม. จำนวนค่า
  • คลอรีนลดลงไม่เกิน 1.0 ช่วงเวลาที่ควรตรวจวัด จาก 06.00 ถึง 10.00 น.

ทั้งนี้ ต้องอยู่ในขณะเดินปั๊มเครื่องกรอง และไม่มีผู้เล่นน้ำในสระว่ายน้ำ

  • ค่าความกระด้างของน้ำ ต้องอยู่ระหว่าง 125 – 150
  • ค่า PH หรือความเป็นกรดด่าง อยู่ระหว่าง 7.4 –6 PH
  • ค่าแอลคาลินิตี้ อยู่ระหว่าง 80 – 100 จึงจะเรียกว่าน้ำอยู่ในสภาพ

สมดุลย์

การปรับสภาพน้ำดิบในสระว่ายน้ำ

ขั้นตอนการปรับสภาพน้ำดิบในสระว่ายน้ำเข้าสู่สภาพสมดุลย์ทำได้ ดังนี้

  • ทำการสันดาปโลหะหนัก และฆ่าเชื้อต่าง ๆ ด้วยคลอรีน การกระทำควรทำ

ดังนี้

  • ตรวจสอบแหล่งที่มาของน้ำดิบว่าเป็นน้ำอะไร
  • ตรวจสภาพความขุ่นใส หรือสีสันว่าเป็นอย่างไร

อัตราการใช้คลอรีนกับน้ำต่าง ๆ

  • หากน้ำมีความขุ่นมาก และเป็นน้ำบาดาล ให้ใช้คลอรีนในอัตรา

20 PPM. (กรัม/ม3)

  • หากน้ำมีความขุ่นน้อย และเป็นน้ำบาดาล ให้ใช้คลอรีนในอัตรา

15 PPM. (กรัม/ม3)

  • หากน้ำมีความขุ่นน้อย และเป็นน้ำประปา ให้ใช้คลอรีนในอัตรา

10 PPM. (กรัม/ม3)

            การตรวจผลจะกระทำในเวลาหลังจากเติมคลอรีนแล้ว 12 ชม. หากคลอรีนมีค่าที่วัดได้โดยเครื่องมือวัดคลอรีนต่ำกว่า 0.5 PPM. ก็ให้เติมคลอรีนลงไปอีกเท่ากับจำนวนเดิม หากวัดได้ต่ำกว่า 1.5 PPM. ก็ให้เติมครั้งต่อไปเพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนเดิม และวัดค่าใน 12 ชม.ถัดไป หากได้ค่าคลอรีนเกินกว่า 3 PPM. แล้วแสดงว่าเชื้อ และแร่โลหะหนักถูกทำลายไปหมดแล้ว ครั้งต่อไปต้องใช้คลอรีนเพียง 3 – 5 กรัม/ม3  ต่อวัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ใช้สระว่ายน้ำหากผู้ใช้สระหนาแน่นมาก หรือมีการเติมน้ำ อาจต้องใช้คลอรีนมากกว่านี้ได้ สระบริการควรใช้อัตรา 5 – 10 กรัม/ม3

  • การตรวจวัด และปรับค่า

การตรวจวัดค่า PH. ควรทำก่อนและหลังการเติมคลอรีน 30 นาที และให้

สังเกตสีน้ำ หลังการเติมคลอรีนทุกครั้ง เมื่อทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำสระใหม่ หากมีสีเข้มขึ้นหลังการเติมคลอรีนอาจเป็นสีเขียวอ่อน, เขียวเข้ม, สีส้ม, สีน้ำตาล, สีเขม่าไฟ เป็นต้น อุบัติการนั้นหมายถึง น้ำนั้นประกอบด้วยสารละลายโลหะหนัก หรือเป็นน้ำบาดาลที่มีสารละลายสูง ค่าของ PH มักจะสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการวัดก่อนเติมคลอรีน และถ้าค่า PH สูงกว่า 7.6  หมายถึง จะเกิดคราบโลหะบนผิวกระเบื้องได้ ต้องรีบทำการลดค่า PH ลงโดยใช้กรดเกลือให้ประเมินจากค่า PH ของน้ำ ถ้าเป็นน้ำบาดาลใหม่มักมีค่าแอลคาลินิตี้สูง มักให้สารส้มระหว่าง 50 – 100 กรัม/ม3 ของน้ำอันจะเป็นการลดค่าด่างและค่าแอลคาลายได้ดี และเพื่อป้องกันการเกาะคราบของโลหะ ควรใช้ POOL – BRIGHT 10 ซีซี/ม3  ของน้ำในสระจะป้องกันการเกาะคราบของโลหะหนักได้ ไม่ควรใช้สารส้มกับสระ ถ้าไม่ได้เปลี่ยนน้ำใหม่และจะต้องเป็นน้ำที่มีค่าแอลคาลายสูงเท่านั้น

            ในระหว่างการปรับคลอรีนนั้นก็ต้องทำการปรับค่า PH ของน้ำควบคู่กันไปด้วย ค่า PH ต่ำก็ต้องใช้โซดาแอช หากสูงก็ให้ใช้กรดเกลือ การเติมทั้งโซดาแอช หรือ กรดเกลือ ก็ให้เติมแต่น้อย คือ ถ้าเป็นโซดาแอช ครั้งละ 2 กก./100 ม3  ถ้าเป็นกรดเกลือให้ใช้ในอัตรา 2 – 5 ลิตร/100 ม3    จำนวนกรด หรือด่างที่เติมให้สังเกตุจากค่า PH เช่น ค่า PH 7.6 – 7.7 อาจใช้เพียงคลอรีน 90% ไปสักพักก็จะลดเอง ไม่ต้องเติมกรด หรือถ้ามีค่า PH 8.0 – 8.5 ให้ใช้กรด 2 – 5 กก./ม3  เป็นต้น การเติมโซดาแอช เมื่อค่า PH ต่ำ ก็ให้คิดในทำนองเดียวกัน ทั้งนี้ให้ตรวจวัดผล 24 ชม. จากเวลาที่ทำการเติมปรับนั้น ๆ สังเกตุจากค่า PH เข้าเป้าระหว่าง 7.4 – 7.6 ได้แล้วก็ทิ้งไว้จนกว่าจะครบ 24 ชม. แล้วจึงวัดใหม่ หากเปลี่ยนแปลงไปก็ให้ปรับเพิ่มอีกเล็กน้อยลดลงเพียงครึ่งหนึ่ง หรือเท่าที่จำเป็น เมื่อน้ำเข้าสู่สภาวะสมดุลย์ค่า PH จะอยู่คงที่นานพอควรหากน้ำเข้าสู่สภาพสมดุลย์แล้ว ถ้าใช้คลอรีนชนิด 90% ให้ใส่โซดาแอช ในปริมาณครึ่งหนึ่งของน้ำหนัดคลอรีนทุกวัน ห่างกัน 12 ชม.จะคุมน้ำให้อยู่ในสภาพสมดุลย์ได้นาน เมื่อชำนาญแล้วก็สามารถควบคุมได้ตลอดไป

ระบบการทำงานของสระว่ายน้ำ

สระว่ายน้ำ แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ

  1. ระบบสกิมเมอร์

เป็นระบบเก่าน้ำไม่ถึงของสระ มีข้อสังเกตุได้ว่า ระดับน้ำมักต่ำกว่าขอบสระประมาณ 10 – 20 ซม. และมีช่องปากสกิมเมอร์อยู่ที่ขอบสระ ซึ่งเป็นที่ขจัดฝุ่นละอองผิวน้ำ และน้ำในสระจะหมุนเวียนเข้าผ่านเครื่องกรอง เพื่อทำความสะอาด และกลับสู่สระดังเดิม

  1. ระบบโอเวอร์โฟล (น้ำล้น)

เป็นระบบใหม่น้ำเต็มปริ่มขอบสระ ล้นลงรางไหลไปลงบ่อพักน้ำ น้ำเหล่านี้

ถูกปั๊มสูบน้ำไปสู่เครื่องกรอง เพื่อขจัดความสกปรกออก และนำกลับสู่สระน้ำต่อไป ระบบใหม่นี้จะดูสะอาด และสวยงามกว่าระบบเดิม เพราะเมื่อฝุ่นละอองสัมผัสผิวน้ำแล้ว ก็จะล้นออกไปจากสระทันที หากเครื่องปั๊มทำงาน

การเปรียบเทียบ 2 ระบบ ข้อดีกว่า 0,ข้อด้อยกว่า X

                                                 สระน้ำล้น                    สระสกิมเมอร์

  1. ความสวยงาม                            0                                     X
  2. ความสะอาด                              0                                     X
  3. การลงทุน                                  X                                     0
  4. ค่าบำรุงรักษา                            X                                     0
  5. การรักษาความสะอาด               0                                     X

 

            สระว่ายน้ำทุกชนิด มักมีระบบการกรองน้ำขจัดสิ่งสกปรก และนำน้ำที่สะอาดแล้ว หมุนเวียนกลับสู่สระว่ายน้ำ และไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำบ่อย ๆ เพราะเป็นการประหยัดค่าน้ำ และค่าเคมีอีกด้วย บางท่านอาจคิดว่าน้ำในสระสกปรกมาก แต่อันที่จริงน้ำในสระที่อยู่ในสมดุลย์ และถูกสุขลักษณะมักสะอาดใกล้เคียงกับน้ำประปา เพราะมีการฆ่าเชื้อ และทำการกรองซ้ำแล้วซ้ำอีกจนสะอาดเงางาม แม้เหงื่อไคลผสมบ้าง เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนน้ำในสระแล้ว ถือว่าเป็นจำนวนน้อย เพราะเครื่องกรองจะหน้าที่กรองติดต่อกันไปตลอดเวลาที่มีผู้ใช้สระว่ายน้ำ มักจะมีการนำเอาน้ำในสระไปล้างเครื่องกรองบ้าง และเติมใหม่เท่ากับการเป็นการรักษาสมดุลย์ และมีน้ำเข้ามาทดแทนใหม่ตลอดเวลานั้นเอง สระว่ายน้ำทั่วไป มักจะทำการถ่ายน้ำทำความสะอาดใหญ่ทุก ๆ 5 – 10 ปีต่อครั้ง หรือในกรณีจำเป็นเท่านั้น

ข้อควรระวัง

            สระฝังดิน หากทำการล้างสระนำน้ำออกจากสระ มักมีอาการเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากสระถอนตัว เนื่องจากแรงลอยตัวของส่วนลึกของสระว่ายน้ำ จึงควรกระทำในฤดูที่มีน้ำใต้ดินต่ำที่สุด และใช้เวลาไม่เกิน 24 ชม.ควรรีบเติมน้ำลงสระทันทีที่ทำความสะอาดเสร็จ หรือเร็วที่สุด

การดูแลและตรวจสภาพเครื่องปั๊ม

            การตรวจอาการปั๊มน้ำอุปกรณ์ในสระว่ายน้ำ หากกล่าวถึงเครื่องปั๊มน้ำจะถือว่าเป็นหัวใจซึ่งสำคัญที่สุดของสระว่ายน้ำก็ว่าได้ เพราะหากส่วนอื่น ๆ เสีย การรักษาให้น้ำอยู่ในสภาพใกล้สมดุลย์ที่สุดได้ โดยเพียงเดินเครื่องปั๊มน้ำหมุนเวียน และเติมคลอรีนเลี้ยงไว้ก็สามารถทำได้ ดังนั้น ถ้าปั๊มน้ำเกิดปัญหาทุกอย่างก็จบสิ้น การตรวจสอบสภาพปั๊มน้ำอย่างสม่ำเสมอ มักทำให้สระว่ายน้ำสิ้นปัญหาไปแล้วกว่าครึ่ง  อาการบ่งบอกของต้นเหตุแห่งการผิดปกติของปั๊ม ได้แก่

  1. อาการเสียงดัง  แบ่งออกเป็น 2 อาการ ดังนี้

–  อาการท่อดูดรั่ว ปั๊มจะดูดอากาศเข้าผสมกับน้ำทำให้เกิดเสียงดัง ควรได้รับการแก้ทันทีมิฉะนั้น อาจเกิดอาการดูดน้ำไม่ได้ จะทำให้เครื่องทำงานเปล่าเสียทั้งค่าไฟฟ้า และน้ำก็จะเสียตามด้วย

–  อาการเสียงดังจากลูกปืนแกนมอเตอร์ ซึ่งเป็นหนักเข้า เครื่องจะร้อน และมอเตอร์อาจไหม้ได้

  1. อาการรั่วของแมคคานิคอลซีล

อาการนี้จะทำให้น้ำไหลหยด และทำให้ลูกปืนในมอเตอร์เป็นสนิม และในที่สุดอาจลุกลามจนเกิดอาการมอเตอร์ลัดวงจร อาการต่าง ๆ มักลุกลามหากทิ้งไว้โดยไม่เหลียวแล

            หมายเหตุ

            เนื่องจาก มอเตอร์ของปั๊มสระว่ายน้ำ เป็นมอเตอร์ที่แตกต่างไปจากมอเตอร์ทั่วไป ไม่มีอะไหล่ในตลาด และอาจต้องใช้เครื่องมือพิเศษ จึงควรแจ้งบริษัทฯ ผู้ขายให้มาทำการตรวจซ่อม มิฉะนั้น อาจเสียเงินหลายต่อ และช่างที่ไม่ชำนาญเครื่องอาจทำให้อะไหล่อื่นเสียหายไปด้วย ดังนั้น จึงควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในการเรียกบริการ เมื่อเครื่องชำรุด

การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องกรอง

            เครื่องกรองน้ำทุกชนิด ต้องหมั่นตรวจตราดูแลให้สะอาด และไม่ให้ทำงานเกิดจุดคุ้มค่าใช้จ่าย กล่าวคือ

  1. ต้องหมั่นตรวจความสะอาด โดยสังเกตุจากเครื่องวัดแรงดัน จะต้องล้างเครื่องกรองเมื่อมีค่าต่ำกว่าแรงดันสูงสุด 5 ปอนด์/นิ้ว2  ทั้งนี้ เพราะถ้ามีแรงดันมากจำนวนการไหลของน้ำผ่านเครื่องกรองก็จะน้อยลงตามลำดับ ซึ่งจะมีมูลค่าไฟฟ้าต่อทุก ม3  ของการกรองน้ำให้สะอาดแพงขึ้นเรื่อย ๆ และการนี้จะส่งผลกระทบต่อราคาการใช้เคมี/ม3 ของน้ำด้วย และนอกจากนี้ยังส่งผลต่ออุณหภูมิของปั๊มน้ำอาจกระทบถึงการหลวมของท่อน้ำต่าง ๆ ซึ่งอาจหลวม หรือแตกได้ รวมถึงอันตรายต่อลูกปืนในมอเตอร์ปั๊มน้ำ ,ใบจักร, หอยโข่ปั๊ม ถ้าทิ้งไว้นาน ๆ อาจทำให้มอเตอร์ไหม้ได้อีกด้วย
  2. จะต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารส้ม หรือจุดสีโดยไม่จำเป็น เพราะสารทั้ง 2 ชนิด ประกอบด้วย So4 (ซัลเฟต) ซึ่งเมื่อรวมตัวกับ Ca (แคลเซียม) แล้วจะเกิดตะกอนลักษณะสีเหลือง และสีอมเขียว สารนี้จะทำให้ทราย หรือสารกรองจับตัวเป็นก้อน และถ้าเป็นไส้กรอง หรือผ้ากรอง จะทำให้ไส้กรองหรือผ้ากรองอุดตันได้ จะใช้ต่อเมื่อเลี่ยงไม่ได้เท่านั้น และอาจใช้วิธีดูดตะกอนทิ้ง เพื่อลดปัญหาหรืออาจทำการล้างเครื่องทันทีที่ปรับสภาพน้ำเข้าที่ ก็จะเป็นการแก้ไขปัญหาได้เปราะหนึ่ง
  3. การเติมน้ำใหม่ลงสระน้ำ ด้วยน้ำที่มีแร่โลหะสูง ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ควรระวังเพราะสารละลายโลหะหนัก หลังจากการทำสันดาป โดยคลอรีน หรือออกซิเจนในอากาศก็ดีจะแสดงสีสันในลักษณะสีสนิมบ้าง สีเขียวบ้าง หรือสีหมากรุกบ้าง บางครั้งอาจมีสีดำทั้งนี้แล้วแต่ชนิดของโลหะหนักต่าง ๆ ที่มีในน้ำดิบนั้น ๆ ตะกอนโลหะออกไซด์เหล่านี้มีอำนาจในการจับเกาะ และล้างออกยาก หากทิ้งไว้ข้ามวันก็ยิ่งติดแน่น ดังนั้น จึงควรดูแลรักษาเป็นพิเศษในระยะนี้ เพราะหากทิ้งไว้อาจมีปัญหามากขึ้นได้ 3 ลักษณะ คือ

วิธีแก้การเกิดคราบ

  1.  เกิดคราบโลหะหนักมาเกาะสะสมกันบนผ้ากรอง หรือไส้กรอง

วิธีแก้  ต้องแช่ในน้ำกรดเกลือเข้มข้น 10% เป็นเวลาไม่เกิน 10 นาที หากน้ำกรดไม่เกิดฟองแล้วแสดงว่าหมดปฏิกิริยา หรือหมดประสิทธิภาพแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง หากนำแผ่นที่ยังไม่ได้แช่ลงเช่แล้วเกิดฟองขึ้น แสดงว่ากรดยังมีประสิทธิภาพแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง หากนำแผ่นที่ยังไม่ได้แช่ลงแช่แล้วเกิดฟองขึ้น แสดงว่ากรดยังมีประสิทธิภาพอยู่ใช้แช่แผ่นต่อ ๆ ไปได้หากมีฟองน้อยก็แสดงว่ากรดหมดอำนาจแล้ว ควรเตรียมกรดใหม่แช่ฉีดผ้ากรองด้วยน้ำแรงดันสูง และฟอกผ้ากรองด้วยแชมพูใส หรือ SUPER CLEANER โดยใช้มือหรือฟองน้ำห้ามใช้แปรงเพราะจะทำให้ผ้า หรือไส้กรองฟู อันจะทำให้อายุผ้า หรือไส้กรองสั้นลง

  1. เกิดจากคราบสารส้ม หรือจุลสี

วิธีแก้  ก็เช่นเดียวกันกับคราบโลหะหนักเช่นกัน เพราะคราบเหล่านี้จะละลาย

ในน้ำกรดเท่านั้น แต่จงจำไว้ด้วยว่า การแช่กรดแต่ละครั้งเป็นการบั่นทอนอายุการใช้งานของผ้าหรือไส้กรองให้สั้นลงเสมอ คราบมักเกิดเมื่อค่า PH ของน้ำสูง

  1. เกิดจากคราบเหงื่อ หรือไขมันต่าง ๆ

วิธีแก้  หลังจากการล้างโดยปกติแล้ว ควรหมั่นถอดออกมาฉีดด้วยน้ำที่มี

แรงดันสูงประมาณ 40 – 60 ปอนด์/ตารางนิ้ว จนสะอาดพอสมควรนำมาฟอกด้วยแชมพูสระผม หรือน้ำยาล้างแผ่นกรอง SUPER CLEANER ทิ้งไว้สัก 5 นาที และฉีดออกด้วยน้ำที่มีแรงดันประมาณ 40 – 60 ปอนด์/ตารางนิ้ว จนสะอาด

            ข้อควรระวัง

            ห้าม  ใช้แปรงทุกชนิด สก๊อตไบรท์ หรือวัสดุอื่นใดขัดถูผ้ากรอง และไส้กรองโดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้เส้นใยในผ้า หรือไส้กรองฟู ซึ่งจะทำให้ผ้ากรอง หรือไส้กรองนั้นอุดตันง่าย และอายุสั้นกว่ากำหนดอย่างน่าเสียดายทั้ง ๆ ที่ยังไม่ขาด

การบำรุงรักษาสระและเครื่องมือที่ใช้

            การบำรุงรักษาสระว่ายน้ำ นับว่าเป็นกิจวัตรประจำวันของนักบริหารสระว่ายน้ำ ซึ่งมีเป็นประจำ โดยเริ่มขึ้นเมื่อเช้าตรู่เมื่อมีแสงสว่างเพียงพอ จะต้องเริ่มโดยการทำการดูตะกอน ตั้งแต่ลมยังสงบ และแดดไม่กล้าจนเกิดความร้อน และแสงสะท้อนเข้าตา การดูดตะกอนควรเริ่มจากที่ตื้นไปสู่ที่ลึก การดูดตะกอนควรทำโดยละเอียดทุกตารางนิ้ว ความเร็วของการทำงานก็ควรให้สัมพันธ์พอเหมาะกับแรงดูด เพราะมิฉะนั้นจะทำให้การเกิดตะกอนฟุ้ง ก็จะเกิดการมัวขึ้นโดยไม่จำเป็น เมื่อดูดตะกอนเสร็จแล้วจะต้องทำการขัดสระให้สะอาด ทั้งนี้ เพื่อมิให้คราบไม่สามารถดูดขึ้นได้ด้วยแรงดูดของหัวดูดตะกอน ต้องตกค้างไว้นานเกิน 24 ชม. เพราะจะเกิดเป็นคราบถาวรไปในที่สุดนั้นเอง หรือใช้หัวดูดชนิดมีแปรงในตัวจะทำให้ประหยัดแรงงานได้

            เมื่อเสร็จจากการทำความสะอาดแล้ว จะต้องใช้เครื่องตรวจวัดค่า PH และคลอรีนทำการตรวจค่า PH และค่าคงเหลือของคลอรีน เพื่อให้รู้สภาพการเป็นไปของคุณภาพ และแนวโน้มของสภาพสมดุลย์ ค่า PH รักษาระดับ 7.4 – 7.6 เท่านั้น หากต่ำ หรือสูงกว่าจะต้องเติมเคมีเพื่อปรับสภาพทันที การปรับควรปรับแต่น้อย ๆ เสมอ จนค่า PH สู่ระดับ 7.4 – 7.6

            ปัจจุบัน นิยมใช้คลอรีนชนิด 90% ควรทำให้สภาพ PH สมดุลย์ โดยเติมคลอรีนในเวลาค่ำ และเติมโซดาแอชในปริมาณครึ่งหนึ่งของคลอรีนในเวลาเช้า หลังจากทำความสะอาดสระเสมอ ซึ่งจะรักษาระดับ PH ได้ดีพอสมควร ทั้งนี้ อาจต้องปรับบ้างเป็นครั้งคราว หาก PH เริ่มสูงขึ้นให้หยุดเติมโซดาแอชเป็นครั้งคราว เนื่องจาก สภาวะแวดล้อมอื่น ๆ อาทิเช่น การเติมน้ำใหม่ หรือเมื่อมีเด็กเล็กลงเล่นน้ำมาก ฝนตกหนัก ร้อนจัด มีผู้ใช้สระมากผิดปกติ ฯลฯ

            ส่วนค่าของคลอรีนในช่วงเช้า หากเป็นสระบ้านควรอยู่ในระดับ 2 PPM. แต่หากเป็นสระบริการควรให้อยู่ในค่าไม่ต่ำกว่า 3 PPM. เพราะหลังดวงอาทิตย์ขึ้นสู่ระดับสูง อุณหภุมิของน้ำจะสูงขึ้น และอุลตร้าไวโอเล็ตก็จะแรงกล้าขึ้น ทำให้ระดับคลอรีนในน้ำลดลงเรื่อย ๆ

            ปัจจุบัน สระว่ายน้ำในประเทศ เริ่มนิยมการใช้เครื่องอัตโนมัติในการควบคุมสภาพน้ำ ร่วมกับการใช้เครื่องกรองทราย เพราะสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย และง่ายต่อการบำรุงรักษา การเติมคลอรีน หรือการเตรียมกรดด่างปรับค่า PH แต่ละครั้งอยู่ได้หลายวัน ซึ่งเครื่องป้อนเคมีในปัจจุบันทันสมัยกว่าแต่ก่อน ซึ่งมีแต่ปั๊มป้อนจำนวนน้อย ๆ เมื่อฝนตกหนักทีไรน้ำในสระต้องเสียทุกครั้ง เพราะอัตราการเพิ่มคลอรีนน้อยเป็นผลทำให้เกิดปัญหาอยู่บ่อยครั้ง ปัจจุบันมีเครื่องกลที่มีความคล่องตัวในการปรับสภาพสูง และมีระบบฆ่าเชื้ออัตโนมัติต่าง ๆ เช่น เครื่องเปลี่ยนค่า Nacl ให้เป็นคลอรีน Naocl และเครื่องผลิต O3 ตลอดจนเครื่องเติมคลอรีนชนิดเฉียบพลันเป็นต้นขอข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก บริษัท พูล-เทค จำกัด โทร.274-3484-6

            การเติมคลอรีนนั้น ควรเติมในเวลากลางคืนหลัง 20.00 น. หรือถ้าเป็นสระบริการควรทำหลังปิดสระวันละครั้ง สำหรับสระบริการต่าง ๆ ในช่วงวันหยุด หรือในช่วงรับนักศึกษาปิดภาคควรเสริมคลอรีนในช่วงบ่าย ทั้งนี้ ขึ้นกับสภาพความคับคั่งของผู้เข้าใช้บริการ มักนิยมใช้คลอรีนก้อนเสริมในบ่อพักน้ำล้น หรือในสกิมเมอร์ เพื่อรักษาระดับคลอรีนมิให้ขาด

            โปรดจำไว้ว่าแม้ 10 นาทีที่คลอรีนขาดไปจากน้ำ คือ การขาดสมดุลย์ของสระ ที่จะทำให้เกิดปัญหาได้ การเติมคลอรีนเกิน 10% ต่อวันจะประหยัดกว่าการเติมขาด 5% ต่อวัน เป็นมูลค่าถึง 20% หรือมากกว่านั้น เพราะเมื่อคลอรีนเริ่มขาด และเชื้อฟักตัวขึ้นแล้ว จะเริ่มเกิดการแบ่งเซล และสร้างโปรตีนในน้ำมากขึ้น ต้องการคลอรีนมากขึ้น และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากเติมคลอรีนแล้ว กว่าคลอรีนจะกระจายไปทั้งสระก็ใช้เวลาพอสมควร และเนื่องจากมีเชื้อเกิดขึ้นมากเครื่องกรองน้ำก็ต้องทำงานหนักจะเกิดการอุดตัน เมื่อเกิดการอุดตันน้ำหมุนเวียนผ่านเครื่องกรองก็จะน้อยลง การกระจายคลอรีนให้ทั้งสระก็จะลดลงทำให้ปัญหาเพิ่มขึ้น และนี่คือสาเหตุลุกลามของสภาพน้ำเสียสมดุลย์ จึงควรระมัดระวังอาการนี้ให้ดี

เครื่องมือทำความสะอาดและควบคุมสระว่ายน้ำ

  1. ชุดวิเคราะห์ค่า PH และคลอรีน

            หลังการใช้ให้เก็บรักษาในตู้เย็น หรือสถานที่เย็นเป็นชุดตรวจหาค่าเพื่อควบคุมสภาพสมดุลย์ของสระว่ายน้ำ เพื่อทราบแนวโน้มการที่ต้องเติมหรือไม่ของสารเคมีในเวลานั้น ๆ ควรใช้วัดอย่างน้อย 3 ครั้งต่อวัน คือ เวลาหลังจากดูดตะกอนเช้า 8.00 น. เวลา 14.00 น.และเวลาเย็น 19.00 น. ค่าคลอรีนควรจะได้ 3,2,0.5 PPM. เป็นต้น หากเป็นสระบ้านอาจวัดวันละครั้งในตอนเช้าก็ได้ ควรมีคลอรีนอย่างน้อย 2 PPM

  1. หัวดูดตะกอนและสายดูด

            ใช้ร่วมกันโดยต่อเข้ากับด้ามอลูมิเนียมยาว เพื่อใช้ทำความสะอาดเปรียบเทียบเหมือนเครื่องดูดฝุ่นละอองจากพื้นสระนั้นเอง อุปกรณ์ทำความสะอาดสระมักประกอบด้วยผลิตภัณฑ์พลาสติก ไม่ควรทิ้งไว้ให้ถูกแสงแดดนาน

ข้อสำคัญ  ต้องใส่อากาศในสายดูดตะกอนให้หมด

  1. แปรงไนล่อน

            มักจะเป็นแปรงหน้ากว้าง 18” ใช้ปัดฝุ่นที่เกาะผิวกระเบื้องให้หลุดลอยไม่เกาะเป็นคราบตามผนัง หรือพื้นสระ

  1. ตะแกรงช้อนผง

            มี 2 ชนิด คือ ชนิดบางและชนิดถุง ชนิดบางยังแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดมีแม่เหล็ก และไม่มีแม่เหล็ก จุดประสงค์ของชนิดมีแม่เหล็ก เพื่อดูดเศษโลหะที่ตกลงก้นสระเช่น กิ๊บติดผม หรือตะปู และเศษโลหะอื่น ๆ ทั้งนี้ เมื่อวัตถุเหล่านี้ตกลงก้นสระจะต้องเก็บขึ้นโดยทันทีมิฉะนั้น จะเกิดคราบสนิมเกาะพื้นที่นั้น ๆ และยากต่อการขจัดได้โดยไม่ถ่ายน้ำออก แม้ในปัจจุบันมีน้ำยาที่ทำได้ก็ตาม แต่ก็ต้องสิ้นเปลืองเงินทองไม่น้อยทีเดียว และใช้ตักใบไม้ต่าง ๆ อันเป็นงานหลัก

  1. แปรงลวดสแตนเลส

            ใช้ทำการขจัดตะไคร่น้ำในร่องยาแนวกระเบื้อง และคราบสนิมหินปูนในแผ่นกระเบื้อง จะใช้ในเวลาที่จำเป็นเท่านั้น

  1. ด้ามอลูมิเนียม

            มีไว้ใช้ควบคุมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วให้ทำงานในที่ลึกได้สะดวกนั้นเอง

การเติมเคมีและการแก้ปัญหาสระว่ายน้ำ

เคมีภัณฑ์ที่ใช้ในสระว่ายน้ำ แบ่งออกเป็นประเภทโดยการทำงาน 4 ประเภท คือ

  1. เคมีที่ทำหน้าที่ฆ่าเชื้อ มีดังนี้

            –  คลอรีนใช้ในการฆ่าเชื้อทุกชนิดโดยทั่วไป

            –  ผลิตภัณฑ์ป้องกันตะไคร่น้ำ มักประกอบด้วยสารประกอบทองแดง เช่น POOL CONTROL

            –  ป้องกันการเกาะคราบของโลหะหนัก และแก้ปัญหาน้ำบาดาลใช้ POOL BRIGHT

            –  ผลิตภัณฑ์ขจัดตะไคร่น้ำเขียวเฉียบพลัน BIO CLEAR

  1. เคมีทำหน้าที่ขจัดคราบที่ไม่ใช่โลหะหนัก และคราบโลหะหนัก มีดังนี้

            น้ำยาทำความสะอาด มักจะเป็นน้ำยาขจัดคราบไขมันที่ไม่เกิดฟองมาก หรือแทบไม่มีฟองเลย เพราะฟองที่เกิดในสระว่ายน้ำจะก่อให้เกิดความน่ารังเกียจ และทำให้เกิดผลกระทบต่อตาผู้เล่น เช่น ผลิตภัณฑ์ SUPER CLEANER หากเป็นคราบโลหะหนักต้องใช้ POOL – BRIGHT ถ้าเป็นเล็กน้อยอาจใช้ขัดออกด้วยสก๊อตไบรท์ชุบ POOL – BRIGHT ถ้าคราบหนาสูบน้ำออก และล้างด้วยกรดเกลือ

  1. เคมีปรับค่า PH ได้แก่  กรด หรือ ด่าง ที่ใช้อยู่ทั่วไป มีดังนี้

            –  กรดเกลือ HCL ใช้ลดค่า PH ให้ต่ำลง เนื่องจากกรดมีอำนาจในการกัดกร่อนโลหะรุนแรง และเป็นอันตรายต่อผิวหนัง จึงควรระมัดระวังการใช้ การผสม ควรใช้ถังที่เป็นผลิตภัณฑ์พลาสติก การคนให้เข้ากันก็ต้องชพลาสติกด้วย ต้องเจือน้ำอย่างน้อย 20 ต่อ 1 ก่อนเทลงสระน้ำ เป็นต้น เคมีที่ใช้แทนกรดอ่อน ซึ่งเป็นสารประกอบของโซเดียม คือ โซเดียมไบซัลเฟต

            –  โซดาแอช Naco3 ใช้เพิ่มค่า PH ให้สูงขึ้น โซดาแอชมีอันตรายต่อผิวหนัง และมีการกัดกร่อนโลหะเช่นเดียวกับกรด แต่มีอำนาจน้อยกว่ามาก การผสมก็ควรใช้มาตรการเดียวกับกรด แต่ใช้ง่าย และมีพิษน้อยกว่ามาก

ห้าม   ผสมกับคลอรีนเด็ดขาดจะมีอันตรายมาก

  1. สารเร่งการตกตะกอน มี 2 ประเภท คือ

–  สารส้ม  การใช้สารส้มในการเร่งการตกตะกอนนั้น มักใช้ทั่วไปในการทำ

น้ำให้ใสตัวเร็วแต่ในสระน้ำไม่ควรใช้บ่อยครั้ง เพราะการตกตะกอนโดยสารส้มจะเกิดตะกอนของแคลเซียมซัลเฟต อาจมีภัยต่อเครื่องกรองดังกล่าวมาแล้ว ควรระวังอย่างยิ่ง

  • ผลิตภัณฑ์เร่งการตกตะกอนจากต่างประเทศ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีสารประกอบ

ของซัลเฟต จึงไม่มีปัญหาต่อเครื่องกรอง มีราคาสูงแต่ใช้จำนวนน้อยกว่าสารส้มมาก เช่น BIO CLEAR มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อในตัว

 

หลัก 3 ประการในการประหยัดค่าใช้จ่ายและแรงงาน

            คุณภาพน้ำในสระว่ายน้ำ ขึ้นอยู่กับหลัก 3 ประการ ที่จะต้องสนใจและดูแลอย่างมีวินัย คือ

  1. ค่า PH
  2. ค่าคลอรีน หรือการควบคุมให้ปลอดเชื้อ
  3. ความสะอาด และสมบูรณ์ของระบบกรองน้ำ

องค์ประกอบทั้ง 3 นี้ หากขาดข้อใดข้อหนึ่ง จะทำให้เกิดความเปราะบางของการเกิดปัญหาซึ่งนำมาซึ่งการเสียสมดุลย์ สิ้นเปลืองทั้งค่าใช้จ่าย และแรงงาน ตลอดจนอันตรายต่อผู้บริโภค

  1. ค่า PH มีผลต่อการทำงานของคลอรีน คือ ถ้า PH ต่ำ ทำให้การสลายตัวของ

คลอรีนสูง  ทำให้เปลืองค่าบำรุงรักษา และควบคุมการเจริญของจุลชีวะได้ยาก กัดกร่อนปูนยาแนวกระเบื้อง และกัดขอบสระที่ทำด้วยกรวดล้าง หินขัด ตลอดจนส่วนที่เป็นโลหะต่าง ๆ เช่น ท่อ, กรอบไฟ, ปั๊มน้ำ, เครื่องกรอง เป็นต้น

  1. ค่าคลอรีน ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง น้ำในสระจะขาดคลอรีนไม่ได้เลย เวลาที่มี

น้อยสุด คือ หลังจากใช้สระ จะต้องมีไม่น้อยกว่า 0.2 PPM. หากขาดคลอรีนก็จะเกิดการขยายตัวของจุลชีวะได้ทันที เพราะจุลชีวะมีทั้งในอากาศ และในสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปแพร่ขยายได้เร็วในน้ำสระ เพราะมีอาหารอุดมสมบูรณ์มาก ทั้งโปรตีน และแร่ธาตุเมื่อขาดคลอรีนตะไคร่น้ำ และเชื้อต่าง ๆ จะเจริญเติบโตได้เร็วมาก

  1. ความสะอาด และความสมบูรณ์ของระบบกรองน้ำ หากระบบนี้มี

ข้อบกพร่องต่าง ๆ อาทิตย์

ระบบปั๊มส่งน้ำเกิดปัญหา

–  ใบพัดปั๊มมีปัญหา, กำลังส่งบกพร่องขับดันน้ำได้น้อย, มอเตอร์ไม่ทำงาน,

ท่อรั่ว, ลูกปืนตาย

ระบบเครื่องกรอง

–  เครื่องกรองชำรุด, อุดตัน, ผ้ากรองเสื่อม, ใส่ผงกรองน้อยกว่ากำหนด, ใช้สารกรองผิดประเภท, ขาดการล้าง และบำรุงรักษา

ค่า PH มองข้ามไม่ได้  ค่า PH ของน้ำ คือ ต้นเหตุสำคัญของความสิ้นเปลือง และเหนื่อยยากของผู้ควบคุมดูแลสระว่ายน้ำ และยังทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสารพัด ดังนี้

            PH ต่ำ  Ø  คลอรีนตก  – เชื้อเกิดตะกอนมาก  –  เครื่องกรองตัน  –  ดูดตะกอนบ่อย  –  ล้างเครื่องกรองบ่อย  – เติมน้ำมาก เปลืองน้ำ, คลอรีน, แรงงาน, เกิดการสึกกร่อน

            PH สูง Ø น้ำเสียบ่อย  – กระเบื้องสาก  –  สระสกปรก  –  เกิดเชื้อน้ำหมองบ่อย  –  เกิดตะไคร่ดำ  –  เครื่องกรองตัน  –  น้ำเหม็น  –  สิ้นเปลืองน้อยกว่า PH ต่ำ แต่สระสกปรกมากกว่า สรุปแล้วเปลืองทั้งค่าใช้จ่าย และแรงงาน

            คลอรีนผู้พิทักษ์  คลอรีนมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่า PH แต่คลอรีนจะทำงานได้ดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับค่า PH

คลอรีนต่ำ  Ø  เกิดเชื้อ  –  เกิดตะกอน  – ต้องดูดตะกอนบ่อย  –  ล้างเครื่องกรองบ่อย  –  เปลืองผงกรอง  –  เปลืองน้ำ  –  เติมน้ำบ่อย  –  เปลืองค่าใช้จ่าย  –  เปลืองแรงงาน  –  อันตรายเป็นแหล่งแพร่เชื้อ

คลอรีนสูง  Ø  เปลืองค่าใช้จ่าย  –  อันตรายต่อผู้ใช้บริการ  –  เปลืองกรด/ด่าง ในการปรับค่า PH ถ้าคลอรีนสูงเล็กน้อย เป็นผลดีมากกว่าผลเสีย

ความพร้อมของระบบกรอง  ระบบกรองมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่า PH และคลอรีนถ้าระบบกรองบกพร่อง  –  ตะกอนสะสมน้ำสกปรก  –  เปลืองคลอรีน  –  น้ำเหม็น  –  ท่อรั่ว  –  อะไหล่ปั๊มชำรุด  –  เปลืองค่าเคมี  –  เสียลูกค้า  ทิ้งไว้นานต้องเปลี่ยนน้ำทั้งสระ

ข้อเตือนความจำของนักบริหารสระว่ายน้ำ

  1. พึงสำนึกเสมอว่า สวัสดิภาพของผู้ใช้บริการขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของผู้ดูแล

สระว่ายน้ำ การควบคุมคุณภาพน้ำ และเครื่องกรองรวมถึงกาใช้เคมีภัณฑ์ มีผลโดยตรงต่อสุขภาพ และค่าใช้จ่าย

  1. หากน้ำขาดความสะอาด และมิได้อยู่ในสมดุลย์ สระว่ายน้ำนั้นเท่านั้นเท่ากับ

เป็นแหล่งแพร่เชื้อขนาดใหญ่ที่ไม่จำกัดผู้ติดเชื้อ

  1. การใช้เคมีที่ไม่ถูกต้อง ตามหลักวิชาชีวะเคมีการควบคุมสระว่ายน้ำ มักทำให้

สิ้นเปลืองโดยไร้ประโยชน์ การใช้คลอรีนในสระเกินวันละ 10% จะประหยัดกว่าขาดวันละ 5% ถึง 50% ของค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา

  1. การขาดคลอรีนจะทำให้ต้องเสียคลอรีนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ เพราะเชื้อจะเพิ่ม

และต้องการคลอรีนมากขึ้นเรื่อย ๆ

  1. เมื่อเห็นเค้าฝนควรเพิ่มคลอรีน และเดินเครื่องเต็มกำลัง เพื่อรับกับน้ำฝนที่จะ

ตกลงมาเสมอ จำนวนเพิ่มประมาณ 50% ของการใช้/วัน

  1. PH ของน้ำจะต้องหมั่นปรับให้อยู่ในสภาพสมดุลย์เสมอ ระหว่าง 7.4 –6
  2. PH สูงเกิดตะกรัน คราบเปอะเปื้อน และทำให้แสบตา PH สูง หมายถึง

สูงกว่า 7.6 คลอรีนจะค้างไม่ระเหยตัว แต่ก็จะเฉื่อยทำให้เชื้อไม่ตาย

  1. PH ต่ำเกิดอาการกัดกร่อนยาแนวกระเบื้อง และอุปกรณ์และส่วนประกอบที่

ทำด้วยโลหะ PH ต่ำ คลอรีนใช้เปลืองและแสบตา PH ต่ำ หมายถึง ต่ำกว่า 7.4

  1. ฝุ่นละอองก้นสระ หากทิ้งไว้ข้ามวันอาจเป็นตะกรันได้
  2. ข้อปฏิบัติในการเติมน้ำในสระเพิ่มขึ้น ให้อ่าน และปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด

จากหน้า 4 – 5

การตรวจและแก้ปัญหางานระบบ

การตรวจและแก้ปัญหางานระบบ

การตรวจและแก้ปัญหาน้ำเสีย

หมายเหตุ

            –  การใช้น้ำยาทุกชนิด ให้ผสมน้ำอย่างน้อย 10 เท่า ก่อนเทลงรอบ ๆ สระเสมอ ขณะใช้น้ำยา Pool Bright ค่าคลอรีน จะต้องไม่เกิน 1 PPM. จำนวนการใช้คลอรีนของสระต่อวัน ประมาณ 2 – 5 กรัม ต่อน้ำ 1 ล.บ.ม.สำหรับสระบ้านพักอาศัย หากเป็นสระบริการจะต้องใช้มากกว่านี้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้มาใช้บริการประมาณ 5 – 10 กรัม/ม.3 ต่อวัน หากจำนวนคนมากให้ใส่มาก ถ้าคนน้อยก็ใส่น้อยลงตามส่วน

อาการขุ่นขาว

            อาการน้ำขุ่นขาว มักเป็นอาการบ่งบอกให้ทราบว่า น้ำขาดสมดุลย์ข้อใดข้อหนึ่ง ในองค์ประกอบ 3 ประการ อย่างแน่นอน นั้นคือ

  1. เนื่องจากค่า PH สูง หรือต่ำกว่ากำหนด

            – ค่า PH เกินกว่า 8.0 ขึ้นไป จะทำให้ค่าแคลเซียมเกิดตกตะกอนแขวนลอย เป็นสาเหตุหนึ่ง แก้โดยใช้กรดเกลือปรับค่า PH ลงน้ำก็จะหายขุ่นการปรับค่าทุกครั้งต้องดูแลค่าของคลอรีน และประสิทธิภาพการกรองด้วยเสมอ

            –  หากค่า PH ต่ำกว่า 7.1 อาการขุ่นมัวมักจะเป็นเพราะ ขาดคลอรีน หรือผิดปกติของระบบกรอง หรือทั้ง 2 อย่าง แก้ไขโดยเพิ่มด่าง (โซดาแอช) เพิ่มคลอรีน และเพิ่มประสิทธิภาพระบบกรองไปด้วยกัน

            หมายเหตุ  การปรับค่าจากค่า PH ต่ำกว่า 6.0 ควรระวังการตกตะกอนของโลหะหนัก ซึ่งจะทำให้เกิดคราบที่พื้นสระได้ การตรวจเพื่อความมั่นใจในการแก้ไข โดยใช้โซดาแอช 1 ช้อนโต๊ะ ละลายในน้ำ 1 ขัน คนจนผงโซดาแอชละลายดี น้ำจะใส นำน้ำละลายโซดาแอชนั้น เทลงในสระ หากแสดงปฏิกิริยาขุ่นขาว แสดงว่ามีโลหะหนักละลายตัวอยู่ หากเกิดปฏิกิริยาคล้ายเทน้ำเชื่อมลงในสระ แสดงว่าไม่มีสารละลายโลหะหนัก

            –  การเพิ่มค่า PH ในสระน้ำที่มีสารละลายโลหะหนัก ควรระวังการเกิดคราบบนกระเบื้อง โดยใช้ POOL BRIGHT 500 ซีซี./น้ำ 100 ม.3ป้องกันการเกาะคราบแล้วค่อยปรับด้วยโซดาแอช 5 กก./100 ม.3 เช้า, เย็น และหมั่นดูค่าคลอรีน และประสิทธิภาพระบบกรองให้ดี เดินเครื่องเต็มกำลังจนกว่าเข้าสู่สภาพปกติ หากผลตรวจค่าโลหะหนักไม่มีก็ไม่ต้องใช้ POOL BRIGHT แต่ขั้นตอนต่อไปก็เหมือนข้างต้น

  1. เนื่องจากขาดคลอรีน

            หากค่า PH เป็นปกติ อาการขุ่นขาวอาจเกิดขึ้นหลังฝนตก หรือเมื่อมีผู้ใช้สระมากผิดปกติ แก้ไขโดยเพิ่มคลอรีนชนิดทำปฏิกิริยาเร็ว เช่น คลอรีนละลายเร็ว 60% โซเดียมไดคลอโรไอโชไชยาบูเรด หรือ BIO CLEAR เพื่อตัดไฟแต่ต้นลม และเดินระบบกรองน้ำเต็มกำลังจนกว่าน้ำใส

  1. เนื่องจากระบบกรองน้ำบกพร่อง

            หาก PH และคลอรีนเป็นปกติดี ให้ตรวจดูการทำงานของระบบเครื่องส่งน้ำ และเครื่องกรอง อาจตรวจสอบระบบในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

  1. เปิดปิดประตูน้ำผิดหรือไม่
  2. หัวกะโหลกฟุตวาล์วในปอพักต้นหรือไม่
  3. ท่อดูดของปั๊มอุดตัน หรือตะกร้ากรองผงเต็มหรือไม่
  4. ท่อสูบของปั๊มรั่วหรือไม่ ใบพัดปั๊มอาจผิดปกติ หรือเกิดอุดตันในใบพัดปั๊ม

หรือไม่

  1. ท่อส่งรั่ว, สระรั่ว ต้องเติมน้ำบ่อยเป็นเหตุให้น้ำขุ่นมัวหรือไม่
  2. เครื่องกรอง หรือผ้ากรองรั่ว (ขาด) หรือไม่ถ้าใช่แก้ไขด่วน
  3. ทรายกรอง หรือผ้ากรองอุดตันหรือไม่ สังเกตุได้จากมาตรวัดแรงดันเกินกว่า

18 ปอนด์/นิ้ว2 สำหรับปั๊มต่ำกว่า 1.5 HP และสูงกว่า 20 ปอนด์/นิ้ว2 สำหรับปั๊ม2 HP ขึ้นไป ควรทำการล้างเครื่องกรองให้สะอาดทันที

**อาการขุ่นขาว หากทิ้งไว้ก็จะพัฒนาเป็นสีเขียวนั่นเอง**